วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมาส์คอมพิวเตอร์



เมาส์คืออะไร

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้พิกัดบนหน้าจอว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการเลือกทำงาน บนตำแหน่งใดๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2549)

เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับ อุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูและหางหนู และขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)

เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)

เมาส์ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าจอและทำการคลิก (click) หรือ ดับเบิลคลิก (double click) (สุขุม เฉลยทรัพย์ 2547 : 61)

การทำงานของเมาส์

ส่วนประกอบภายใจของเมาส์โดยทั่วไปจะเป็นลูกบอลยางทรงกลม ซึ่งทำมาจากลูกเหล็กและหุ้มยางเอาไว้ เพื่อให้ลูกบอลยางมีน้ำหนักและติดหนึบกับแผ่นรองเมาส์ นอกจากนั้นยังมีลูกกลิ้งทรงกระบอก 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากกัน สำหรับใช้ในการระบุทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ในแนว ซ้าย-ขวา บน-ล่าง (แกน X , Y) ที่ปลายของลูกกลิ้งทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกสีดำลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบนบาง เจาะช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามแนวรัศมีของวงกลมและมีอุปกรณ์ตรวจจับแสง (photo detector) ติดกับอุปกรณ์ตรวจจับแสงจะประกอบด้วย LED จะมีสวิตซ์ของปุ่มคลิกเมาส์และแผงวงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์(Micro controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสวิตซ์และอุปกรณ์รับแสงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณ ข้อมูลสำหรับอินเทอร์เฟส (Interface) กับคอมพิวเตอร์

การทำงานของเมาส์ คือ การเลื่อนเมาส์ ลูกบอลยางก็จะหมุนกลิ้งไปตามทิศทางของเมาส์ที่เลื่อนไปซึ่งการหมุนของลูกบอล ยางจะมีผลให้ลูกกลิ้งหมุนตามได้ด้วยในแนวแกน (X , Y) ซึ่งการหมุนของลูกกลิ้งก็จะส่งผลให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายหมุนตามไปด้วยเช่น กัน การหมุนของแผ่นพลาสติกทำให้แสงจาก LED ที่อุปกรณ์รับแสงได้รับแตกต่างกันไปตามมุมองศาของการหมุนตัวรับแสงก็จะส่ง สัญญาณที่แตกต่างกันไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller) ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้มีการเคลื่อนตำแหน่งของเมาส์ไปในทิศทางและระยะทาง เท่าใด(สหัสญา บุญสวัสดิ์ 2543 : 68-69)

เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)


รูปแสดงลักษณะการทำงานของเมาส์

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2549)ได้สรุปลักษณะการทำงานของเมาส์ได้ดังนี้

  1. เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน
  2. จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล
  3. เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม
  4. แสงอินฟราเรดส่งผ่านรูจานหมุน
  5. เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Y

วิธีการใช้เมาส์

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2549) ได้สรุปวิธีการใช้เมาส์ได้ดังนี้

Single clicking

เป็นการอินพุตที่ง่ายที่สุด โดยหมายรวมทั้งการกดปุ่มบนเมาส์ชนิดปุ่มเดียวและชนิดหลายปุ่ม โดยหากเป็นเมาส์ชนิดหลายปุ่ม จะเรียกการคลิกนี้ตามตำแหน่งของปุ่ม เช่น คลิกซ้าย, คลิกขวา

Double-click

ดับเบิ้ลคลิกคือการกดปุ่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว ใน Macintosh Finder การคลิกจะเป็นการเลือกไฟล์ ส่วนการดับเบิ้ลคลิกนั้นจะเป็นการเปิดไฟล์ อย่างไรก็ดีการดับเบิ้ลคลิกนี้จะยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ของนิ้วมือ เมาส์แบบหลายปุ่มนั้นสามารถที่จะเซ็ทให้ปุ่มใดปุ่มหนึ่งทำงานเหมือนการดับ เบิ้ลคลิกด้วยการคลิกครั้งเดียวได้ และ OS ในปัจจุบันสามารถที่จะกำหนดช่วงสูงสุดที่จะคลิกปุ่ม 2 ครั้งให้เป็นดับเบิ้ลคลิกได้

Triple-click

ทริปเปิ้ลคลิกเป็นการกดปุ่ม 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็วใช้มากที่สุดใน word processors และใน web browsers เพื่อที่จะเลือกข้อความทั้งย่อหน้า

Chords

คอร์ดส์ คือการคลิกปุ่มตั้งแต่ 2 ปุ่มพร้อมกัน ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานนัก ใน X Windows system การกดปุ่มซ้ายและขวาพร้อมกันจะมีผลเหมือนกับการกดปุ่มกลาง

Click-and-drag

คือการกดปุ่มบน object ค้างไว้แล้วลากไปที่ที่ต้องการ Mouse gestures mouse gesture เป็นวิธีการผสมผสานการเลื่อนและการคลิกเมาส์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ได้จะต้องจดจำคำสั่งพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้ได้ เช่นในโปรแกรมวาดภาพ การเลื่อนเมาส์ในแนวแกน X อย่างรวดเร็วบนรูปร่างใด ๆ จะเป็นการลบรูปร่างนั้น

Right Click

คือการคลิกเมาส์ปุ่มขวา คือ การคลิกเมาส์ที่ปุ่มขวาหนึ่งครั้ง ใช้เพื่อเปิดเมนูย่อยขึ้นมา นิยมใช้ในการเปิดโปรแกรม Windows

อ้างอิง

1.http://images.google.co.th/images?hl=th&client=firefox-a&channel=s&rls=org.mozilla:en-US:official&um=1&q=%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C&sa=N&start=18&ndsp=18
2.http://www.student.chula.ac.th/~48802345/mouse-whatis.html
3.http://www.student.chula.ac.th/~48802345/mouse-work.html
4.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C


วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การกำหนดเมาส์




กำเนิดของเมาส์



เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน

เมาส์ตัวแรกนั้นเทอะทะ และใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลไปเป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาทได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 ชื่อ "X-Y Position Indicator For A Display System" (ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) ในตอนนั้น เองเกลบาทตั้งใจจะพัฒนาจนสามารถใช้เมาส์ได้ด้วยมือเดียว

เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็ก ๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้

เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ André Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก

ออปติคอลเมาส์

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเมาส์อีกรูปแบบนึงนั่นก็คือ ออปติคอลเมาส์ (optical mouse) ซึ่งใช้หลักการในการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์แสงที่อยู่ใต้เมาส์ ร่วมกับแอลอีดี ออปติคอลเมาส์ในยุคแรก ๆ ประดิษฐ์โดย สตีฟ เคิร์ช (Steve Kirsch) ที่บริษัท Mouse Systems Corporation ซึ่งสามารถใช้ได้บนเมาส์แพด (mouse pad) ที่มีพิ้นผิวเป็นโลหะเฉพาะเท่านั้น แต่เมื่อคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ออปติคอลเมาส์จึงได้ถูกใส่ชิปสำหรับประมวลผลภาพ (image processing chips) เข้าไป ซึ่งทำให้สามารถใช้ได้บนพื้นผิวหลายชนิดมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์แพดอีกต่อไป

หลักการของเมาส์แบบที่ไม่ต้องใช้เมาส์แพด คือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวที่เกิดจากการใช้แอล อีดีส่องไปที่พื้นผิว และจะถูกส่งต่อไปที่ส่วนประมวลผลภาพเพื่อที่จะแปลงไปเป็นการเคลื่อนไหวบนแกน X และ Y โดยจะประมวลผลถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ซึ่งในแต่ละเฟรมเป็นมีขนาด 18*18 พิกเซล และแต่ละพิกเซลมีระดับความเข้มที่แตกต่างกันได้ถึง 64 เฉด เมาส์แบบนี้มักจะสับสนกับเลเซอร์เมาส์ (laser mouse) และกลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบันเนื่องจากความแม่นยำที่มีมากกว่าเมาส์แบบลูก กลิ้ง

ปริมาณความต้องการออปติคอลเมาส์ ส่วนหนึ่งมาจากนักเล่นเกมแนว FPS ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงในการเล็งโดยใช้เมาส์

เปรียบเทียบออปติคอลเมาส์กับเมาส์ลูกกลิ้ง

ผู้ที่สนับสนุนออปติคอลเมาส์อ้างว่ามันทำงานได้ดีกว่าเมาส์ลูกกลิ้ง ไม่ต้องบำรุงรักษาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว ส่วนทางด้านผู้สนับสนุนเมาส์ลูกกลิ้ง กล่าวว่าออปติคอลเมาส์นั้นไม่สามารถใช้บนวัสดุโปร่งแสงหรือเป็นมันได้ รวมถึงออปติคอลเมาส์ที่มีประสิทธิภาพต่ำจะมีปัญหาในการเคลื่อนเมาส์เร็ว ๆ และการซ่อมบำรุงเมาส์ลูกกลิ้งนั้นง่ายกว่า แค่ทำความสะอาดก็ใช้ได้แล้ว (แต่อย่างไรก็ดีออปติคอลเมาส์นั้นไม่ต้องการการบำรุงรักษาเลย) จุดที่แข็งที่สุดของเมาส์ลูกกลิ้งน่าจะเป็นการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเมื่อ เป็นเมาส์ไร้สาย โดยที่มันจะใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 5 mA หรือน้อยกว่า ในขณะที่ออปติคอลเมาส์จะกินไฟถึง 25 mA โดยที่เมาส์ไร้สายรุ่นเก่าๆ จะกินไฟมากขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ ไม่เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนานๆ Optomechanical mice ใช้แสงในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้ง ในขณะที่ออปติคอลเมาส์ตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวเรียบ

เลเซอร์เมาส์

ในปี 2004 Logitech ร่วมกับ Agilent Technologies ได้นำเลเซอร์เมาส์เข้าสู่ตลาด เมาส์ชนิดนี้ใช้แสงเลเซอร์แทนแอลอีดีแบบเก่า เทคโนโลยีแบบใหม่สามารถเพิ่มรายละเอียดของภาพที่ถูกประมวลผลในเมาส์ได้อีก ถึง 20 เท่าเลยทีเดีย


ปุ่ม

ปุ่มบนเมาส์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในสมัยแรกเพียงเล็กน้อยเท่า นั้น โดยอาจจะเปลี่ยนในเรื่องรูปร่าง จำนวน และการวางตำแหน่ง เมาส์ตัวแรกที่ประดิษฐ์โดยเองเกลบาทนั้นมีเพียงปุ่มเดียว แต่ในปัจจุบันเมาส์ที่นิยมใช้กันมี 2 ถึง 3 ปุ่ม แต่ก็มีคนผลิตเมาส์ที่มีถึง 5 ปุ่มเลยทีเดียว

เมาส์ที่นิยมใช้กันจะมีปุ่มที่ 2 สำหรับเรียกเมนูลัดในซอฟต์แวร์ที่มีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้มารองรับ ไมโครซอฟท์วินโดวส์ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็ออกแบบมาสนับสนุนการใช้ปุ่มที่ 2 นี้ด้วย

-ส่วนระบบที่ใช้กับเมาส์ 3 ปุ่มนั้น ปุ่มกลางมักจะใช้เพื่อเรียก Macro (เครื่องมือที่ใช้เพิ่มการปฏิบัติงานของ Application บางอย่าง ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ซ่อนอยู่ภายใต้โปรแกรมนั้น เช่น โปรแกรม Excel ผู้ใช้อาจจะเขียนคำสั่งขึ้นเองเพื่อใช้ทำงานเฉพาะอย่าง นอกเหนือไปจากการทำงานตามปกติของโปรแกรมนั้น) ในปัจจุบันเมาส์แบบ 2 ปุ่มสามารถใช้งานฟังก์ชันปุ่มกลางของแบบ 3 ปุ่มได้โดย คลิกทั้ง 2 ปุ่มพร้อมกัน

ปุ่มเสริม

บางครั้งเมาส์ก็มีปุ่ม 5 ปุ่มหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้ ปุ่มพิเศษนี้อาจจะใช้ในการเลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังสำหรับการท่องเว็บ หรือเป็นปุ่ม scrolling แต่อย่างไรก็ตามฟังก์ชันเหล่านี้ใช้ไม่ได้กับทุกซอฟต์แวร์ และมักจะมีประโยชน์กับเกมคอมพิวเตอร์มากกว่า (เช่นการเปลี่ยนอาวุธในเกมประเภท FPS) เพราะว่าปุ่มพิเศษพวกนี้ เราสามารถที่จะกำหนดฟังก์ชันอะไรลงไปก็ได้ ทำให้การใช้งานเมาส์เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดักลัส เองเกลบาท นั้นอยากให้มีจำนวนปุ่มมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เค้าบอกว่าเมาส์มาตรฐานนั้นควรจะมี 3 ปุ่ม เพราะว่าเขาไม่รู้จะเพิ่มปุ่มเข้าไปตรงไหนนั่นเอง

ล้อเมาส์

นวัตกรรมอย่างหนึ่งของปุ่มเมาส์คือปุ่มแบบเลื่อน (Scroll wheel ล้อเล็ก ๆ วางในแนวขนานกับผิวของเมาส์ สามารถหมุนขึ้นและลงเพื่อจะป้อนคำสั่งใน 1 มิติได้) โดยปกติแล้วจะใช้ในการเลื่อนหน้าต่างขึ้น-ลง เป็นฟังก์ชันที่มีระโยชน์มากสำหรับการดูเอกสารที่ยาว ๆ หรือในบางโปรแกรมปุ่มพวกนี้อาจจะใช้เป็นฟังก์ชันในการซูมเข้า-ออกได้ด้วย ปุ่มนี้ยังสามารถกดลงไปตรง ๆ เพื่อจะใช้เป็นฟังก์ชันปุ่มที่ 3 ได้อีก เมาส์ใหม่ ๆ บางตัวยังมี Scroll wheel แนวนอนอีก หรืออาจจะมีปุ่มที่สามารถโยกได้ถึง 4 ทิศทาง เรียกว่า tilt-wheel หรืออาจจะมีลักษณะเป็นบอลเล็กๆ คล้ายๆ Trackball บังคับได้ทั้ง 2 มิติเรียกว่า scroll ball

การเชื่อมต่อ

เช่นเดียวกับอุปกรณ์ input อื่น ๆ เมาส์ก็ต้องการการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปให้ คอมพิวเตอร์ เมาส์ทั่ว ๆ ไปจะใช้สายไฟ เช่น RS-232C, PS/2, ADB หรือ USB โดยปัจจุบันที่นิยมใช้ที่สุด จะเป็น PS/2 และ USB ซึ่งค่อนข้างจะเกะกะ จึงมีผู้ประดิษฐ์เมาส์ไร้สายโดยส่งข้อมูลผ่าน อินฟราเรด, คลื่นวิทยุ, หรือ บลูทูธแทน

อินฟราเรด เป็นลักษณะของการถ่ายโอนข้อมูลคล้าย ๆ กับรีโมท (ทีวีหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน) โดยที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณต้องอยู่ในระนาบการส่งสัญญาณที่ตรงกัน เท่านั้น (เช่นหัวของเมาส์ต้องหันหน้าไปที่ตัวรับสัญญาณตลอดเวลา) ซึ่งการใช้การส่งข้อมูลไร้สายในรูปแบบนี้ไม่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องมี การเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลาอย่างเมาส์ จึงมีผู้ประดิษฐ์เมาส์ที่ส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุแทน

Radio mouse เป็นเมาส์ที่ส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุไร้สาย ตัวเมาส์ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในระนายเดียวกันกับตัวรับสัญญาณตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งเรื่องความได้เปรียบเกี่ยวกับระยะทางของสัญญาณ เมาส์สามารถใช้ได้ห่างจากตัวรับสัญญาณได้มากกว่าแบบ Infrared แต่เนื่องจากการใช้เมาส์ผ่านคลื่นวิทยุไร้สายนั้นเป็นการทำให้เกิดการกีดกัน และรบกวนกันระหว่างสัญญาณของตัวเมาส์เอง กับระบบโทรศัพท์ไร้สายหรืออินเทอร์เน็ตไร้สายที่อยู่ในช่วงสัญญาณเดียวกัน และอีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับการใช้เมาส์รุ่นเดียวกันมากกว่า 2 ชิ้น ทำให้เครื่องในรัศมีการรับสัญญาณของเมาส์ที่อยู่ในคลื่น A เหมือนกันนั้นตอบรับกับเมาส์ตัวอื่น เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเมาส์ไร้สายจะสามารถปรับช่องสัญญาณได้เพียงแค่สองช่อง เท่านั้น (A และ B)

เพราะฉะนั้นผู้ประดิษฐ์จึงหันไปพึ่งเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐานระบบใหม่ ที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุเช่นกันคือ บลูทูธ แต่เนื่องจากผู้คิดค้นและริเร่มระบบบลูทูธได้คาดคำจึงถึงปัญหาเนื่องจากมี ผู้ใช้บลูทูธมากไว้แล้ว ทำให้ได้มีการวางแผนระบบการจับคู่อุปกรณ์ขึ้น ทำให้อุปกรณ์หนึ่งไม่ไปรบกวนหรือไปทำหน้าที่บนอีกอุปกรณ์หนึ่งอย่างที่ผู้ ใช้ไม่ได้ต้องการ โดยก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ด้วยกันจะต้องมีการจับคู่อุปกรณ์กันก่อน จึงจะสามารถใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ด้วยกันได้ และความได้เปรียบในเรื่องของความเร็วที่สูงกว่า 40KB/วินาที ของระบบบลูทูธนั้น ทำให้มันสามารถนำไปใช้ได้กับหลากหลายตลาดการสื่อสาร เช่น หูฟังไร้สาย การส่งข้อมูลไร้สาย และรวมไปถึง ตีย์บอร์ดกับเมาส์นั่นเอง

Bluetooth mouse นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบ พกพา โดยบางเครื่องนั้นได้มีการติดตั้งตัวระบบส่งสัญญาณบลูทูธในเครื่องแล้วด้วย ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์รับสัญญาณแยกออกมาจากเครื่อง ไม่ทำให้เกิดความเกะกะและรำคาญ Bluetooth mouse กำลังจะเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ และเช่นกันสำหรับ Bluetooth keyboard

การใช้งานปุ่มโดยทั่วไป

การอินพุตผ่านเมาส์นั้นมีหลายรูปแบบนอกเหนือไปจากการเลื่อนเมาส์เพื่อ เลื่อนเคอร์เซอร์ เช่น การคลิก (การกดปุ่ม) คำว่าคลิกนั้นมีที่มาจากเสียงคลิกเวลาเรากดปุ่มเมาส์นั่นเอง เสียงนี้เกิดขึ้นจาก micro switch (cherry switch) และใช้แถบโลหะที่แข็งแต่ยืดหยุ่นเป็นตัวกระตุ้นสวิทช์ เมื่อเรากดปุ่ม แถบโลหะนี้ก็จะงอ และกระตุ้นให้สวิทช์ทำงานพร้อมทั้งเกิดเสียงคลิก และช่วยให้ภายในไม่มีภาวะสุญญากาศเกิดขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าผู้ใช้จะตอบสนองกับเสียงคลิกหลังจากกด มากกว่าความรู้สึกที่นิ้วกดลงไปบนปุ่ม

Single clicking

เป็นการอินพุตที่ง่ายที่สุด โดยหมายรวมทั้งการกดปุ่มบนเมาส์ชนิดปุ่มเดียวและชนิดหลายปุ่ม โดยหากเป็นเมาส์ชนิดหลายปุ่ม จะเรียกการคลิกนี้ตามตำแหน่งของปุ่ม เช่น คลิกซ้าย, คลิกขวา

Double-click

ดับเบิ้ลคลิกคือการกดปุ่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว ใน Macintosh Finder การคลิกจะเป็นการเลือกไฟล์ ส่วนการดับเบิ้ลคลิกนั้นจะเป็นการเปิดไฟล์ อย่างไรก็ดีการดับเบิ้ลคลิกนี้จะยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ของนิ้วมือ เมาส์แบบหลายปุ่มนั้นสามารถที่จะเซ็ทให้ปุ่มใดปุ่มนึงทำงานเหมือนการดับ เบิ้ลคลิกด้วยการคลิกครั้งเดียวได้ และ OS ในปัจจุบันสามารถที่จะกำหนดช่วงสูงสุดที่จะคลิกปุ่ม 2 ครั้งให้เป็นดับเบิ้ลคลิกได้

Triple-click

ทริปเปิ้ลคลิกเป็นการกดปุ่ม 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ใช้มากที่สุดใน word processors และใน web browsers เพื่อที่จะเลือกข้อความทั้งย่อหน้า

Chords

คอร์ดส์คือการคลิกปุ่มตั้งแต่ 2 ปุ่มพร้อมกัน ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานนัก ใน X Windows system การกดปุ่มซ้ายและขวาพร้อมกันจะมีผลเหมือนกับการกดปุ่มกลาง

Click-and-drag

คือ การกดปุ่มบน object ค้างไว้แล้วลากไปที่ที่ต้องการ

Mouse gestures

mouse gesture เป็นวิธีการผสมผสานการเลื่อนและการคลิกเมาส์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ได้จะต้องจดจำคำสั่งพิเศษต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่นในโปรแกรมวาดภาพ การเลื่อนเมาส์ในแนวแกน X อย่างรวดเร็วบนรูปร่างใดๆ จะเป็นการลบรูปร่างนั้น

Tactile mice

ในปี 2000 Logitech ได้เปิดตัว tactile mouse ซึ่งมีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ทำให้เมาส์สั่นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส เช่นการสั่นเมื่อเคอร์เซอร์อยู่ที่ขอบของ window เมาส์แบบแปลกๆ อีกชนิดหนึ่งสามารถถือไว้ในมือโดยไม่ต้องวางบนพื้นผิว โดยสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ถึง 6 มิติ (3 มิติ + การหมุนของ 3 แกน) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับการนำเสนอทางธุรกิจ เมื่อผู้พูดจะต้องยืนหรือเดินไปมา อย่างไรก็ดี เมาส์ชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้าง

ความเร็วของเมาส์

ความเร็วของเมาส์มีหน่วยเป็น DPI (Dots Per Inch) ซึ่งคือจำนวนพิกเซลที่เคอร์เซอร์จะเลื่อนได้เมื่อเลื่อนเมาส์ไป 1 นิ้ว Mouse acceleration/deceleration เป็นทริกของซอฟต์แวร์ที่สามารถทำให้เมาส์เลื่อนช้ากว่าหรือเร็วกว่าความเร็ว ปกติของมันได้ แต่มีอีกหน่วยนึงที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมคือหน่วย Mickey เพราะว่าค่า Mickey เกิดจากการนับ dot ที่เคอร์เซอร์เคลื่อนไปได้โดยคิดรวมถึง Mouse acceleration/deceleration ด้วย ทำให้ค่า Mickey สำหรับการใช้งานแต่ละครั้งอาจจะไม่เท่ากัน จึงไม่ได้รับความนิยม

เมาส์แบบอื่น

นอกจากเมาส์แบบปกติที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งมักจะเป็นเมาส์แบบใช้ด้วยมือ แต่ยังมีเมาส์แบบอื่นๆ อีก โดยทำสำหรับผู้ที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับข้อมือเมื่อใช้เมาส์เป็นเวลานานๆ และผู้ที่ใช้เมาส์แล้วรู้สึกไม่สะดวก ซึ่งเมาส์แบบพิเศษนี้มีรูปแบบต่างๆ กันดังนี้

  • Trackball – ใช้โดยเคลื่อนบอลบนแท่น

  • Mini-mouse – เมาส์ขนาดไข่ไก่ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสะดวกต่อการพกพา มักจะใช้กับแลปทอป

  • Camera mouse - กล้องที่จะจับการเคลื่อนที่ของศีรษะแล้วเลื่อนเคอร์เซอร์บนจอไปตาม

  • Palm mouse – ใช้ถือไว้ในมือ และสามารถเร่งความเร็วของเมาส์ได้โดยการกดให้แรงขึ้น

  • Foot mouse – แทนที่จะใช้นิ้วมือกด ก็มาใช้เท้ากดแทน

  • Joy-Mouse – เป็นการรวมกันระหว่างเมาส์และจอยสติก โดยการเลื่อนเคอร์เซอร์จะเปลี่ยนมาใช้การโยกจอยแทน

Mice in gaming

เมาส์มักจะถูกใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ร่วมกับคีย์บอร์ด ซึ่งเมาส์นี้มักจะถูกยกไปอ้างเป็นข้อได้เปรียบของเกมคอมพิวเตอร์ที่วิดีโอ เกมไม่มี

First-person shooters

การใช้เมาส์ร่วมกับคีย์บอร์ดเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการเล่นเกม ประเภท first-person shooter (FPS) แกน X ของเมาส์คือการมองซ้าย-ขวา ในขณะที่แกน Y ใช้มองขึ้น-ลง ปุ่มซ้ายมักจะใช้ยิง นักเล่นเกมหลายคนชอบที่จะใช้ Gamepad มากกว่าเพราะสามารถที่จะตอบสนองได้รวดเร็วและแม่นยำมากกว่า ส่วนปุ่มขวามักจะใช้ยิงปืนพิเศษ ล้อเมาส์ใช้ในการเปลี่ยนอาวุธ ในบางเกมฟังก์ชันเหล่านี้อาจจะถูกกำนดให้ใช้กับปุ่มที่นิ้วโป้ง ส่วนคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ในการเคลื่อนที่ (เช่น w,a,s และ d หรือที่รู้จักกันว่าระบบ wasd ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า, ถอยหลัง, ยิงทางซ้าย และยิงทางขวา) และการใช้ท่าแบบอื่น ๆ ฯลฯ และเนื่องจากบางเกมต้องใช้เมาส์ในการเล็ง ทำให้ผู้เล่นที่ใช้เมาส์ที่มีความแม่นยำสูง จะได้เปรียบผู้เล่นที่ใช้เมาส์ที่มีความแม่นยำต่ำ

ในหลายๆ เกม เช่น เกมแนว FPS หรือ TPS จะมีการตั้งค่าแบบหนึ่งเรียกว่า "invert mouse" หรือใกล้เคียง มันจะทำให้ผู้ใช้มองลงด้านล่างด้วยการเคลื่อนเมาส์ไปข้างหน้า และมองไปด้านบนเมื่อเลื่อนเมาส์ถอยหลัง (ตรงข้ามกับการตั้งค่าแบบปกติ) ระบบการควบคุมแบบนี้คล้ายกับการบังคับอากาศยานซึ่งการดึงคันโยกเข้าหาตัวจะ ทำให้เครื่องลอยขึ้นสูง และการโยกคันโยกออกจากตัวจะทำให้เครื่องลดระดับลง ต่อมาระบบการควบคุมแบบนี้ ก็ถูกนำมาใช้กับจอย

อ้างอิง

1.http://windows.microsoft.com/th-TH/windows-vista/Using-your-mouse

2.http://windows.microsoft.com/th-TH/windows-vista/Using-your-mouse#section_5

3.http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=snasui&month=17-10-2009&group=2&gblog=44

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ (Information system)

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ (management) และเทคโนโลยี (Technology)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้ ดังนี้

ประเภทของระบบสารสนเทศ

(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
(Laudon & Laudon, 2001)
1. ระบบประมวลผลรายการ
(Transaction Processing Systems)
1. Transaction Processing System - TPS
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
(Office Automation Systems)
2. Knowledge Work -KWS and office
Systems
3. ระบบงานสร้างความรู้
(Knowledge Work Systems)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(Management Information Systems)
3. Management Information Systems - MIS
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support Systems)
4. Decision Support Systems - DSS
6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information Systems)
5. Executive Support System - ESS

1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น

2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์

3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ

5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์

6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์

ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล

สุชาดา กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่ หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร


อ้างอิง